วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ต้นกำเนิด - รามเกียรติ์

with 0 ความคิดเห็น
ต้นกำเนิด – รามเกียรติ์


รามเกียรติ์ (raamagian) หมายถึง วรรณคดีสำคัญเรื่องหนึ่งของไทย โดยมีต้นเค้ามาจากมหากาพย์เรื่อง "รามายณะ" ของอินเดีย  โดยที่ มหากาพย์ “รามยณะ” เป็นปางหนึ่งในสิบปาง ของการอวตารมาปราบยุคเข็ญของพระนารายณ์ ที่มีชื่อว่า “รามาวตาร”





รามายณะ (สันสกฤต: रामायण) เป็นวรรณคดีประเภทมหากาพย์ของอินเดีย เชื่อว่าเป็นนิทานที่เล่าสืบต่อกันมายาวนานในหลากหลายพื้นที่ของชมพูทวีป แต่ผู้ได้รวบรวมแต่งให้เป็นระเบียบครั้งแรกคือฤๅษีวาลมีกิ เมื่อกว่า 2,400 ปีมาแล้ว โดยประพันธ์ไว้เป็นบทร้อยกรองประเภทฉันท์ภาษาสันสกฤต เรียกว่า โศลก จำนวน 24,000 โศลกด้วยกัน โดยแบ่งเป็น 7 ภาค (กาณฑ์ หรือ กัณฑ์) ดังนี้
1.   พาลกัณฑ์
2.   อโยธยากัณฑ์
3.   อรัณยกัณฑ์
4.   กีษกินธกัณฑ์
5.   สุนทรกัณฑ์
6.   ยุทธกัณฑ์
7.   อุตตรกัณฑ์

รามายณะเป็นวรรณคดีที่มีการดัดแปลง เล่าใหม่ และแพร่หลายไปในหลายภูมิภาคของเอเชีย โดยมีเนื้อหาแตกต่างกันไป และอาจเรียกชื่อแตกต่างกันไปด้วย เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการทำศึกสงครามระหว่างฝ่าย พระราม กับ ฝ่าย ทศกัณฐ์ (ยักษ์) โดยพระรามจะมาชิงตัว นางสีดา (มเหสีของพระราม) ซึ่งถูกทศกัณฑ์ลักพาตัวมา ทางฝ่ายพระรามมีน้องชาย ชื่อ พระลักษมณ์ และ หนุมาน (ลิงเผือก) เป็นทหารเอกช่วยในการทำศึก รบกันอยู่นานท้ายที่สุดฝ่ายยักษ์ก็ปราชัย

รามายณะเมื่อแพร่หลายในหมู่ชาวไทย คนไทยได้นำมาแต่งใหม่ก็เรียกว่า รามเกียรติ์ ซึ่งมีหลายฉบับด้วยกัน ส่วนในหมู่ชาวลาวนั้น เรียกว่า พะลักพะลาม (พระลักษมณ์พระรามสำหรับเรื่องรามเกียรติ์ ของไทยนั้น มีมาแต่สมัยอยุธยา ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ทรงพระราชนิพนธ์สำหรับให้ละครหลวงเล่น ปัจจุบันมีอยู่ไม่ครบ ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งมีมาแต่เดิมให้ครบถ้วน สมบูรณ์ตั้งแต่ต้นจนจบ






0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น